http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ระวัง "เห็ดป่าพิษ" อันตราย

ระวัง "เห็ดป่าพิษ" อันตราย แมลงกินได้ก็ไม่ปลอดภัย 

กระทรวงสาธารณสุขเป็นห่วงประชาชน หน้าฝนนี้เกือบตายเพราะเห็ดพิษมาแล้ว 600 ราย เตือนแม้เจอรอยแมลงกินก็ไม่ปลอดภัย ชี้ระโงกหินสุดอันตราย ไม่มั่นใจ พบเห็ดแปลก ไม่อยากตายอย่ากิน 

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นห่วงประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่นิยมบริโภคเห็ดป่า ซึ่งจะขึ้นชุกมากในฤดูฝนทุกปี เห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่า มีทั้งชนิดกินได้ ประชาชนรู้จัก และบางชนิดเป็นเห็ดมีพิษ แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดที่กินได้ ทำให้เข้าใจผิดได้บ่อยและนำมารับประทานจนเกิดอันตรายถึงชีวิต แม้ว่า สธ.ได้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อให้เลือกบริโภคเห็ดป่าที่ปลอดภัย แต่ก็ยังพบปัญหาทุกปี 

"ปี 2556 นี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 กรกฎาคม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานทั่วประเทศมีผู้ป่วยกินเห็ดพิษ เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 649 ราย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากอันดับ 1 จำนวน 328 ราย รองลงมาคือภาคเหนือ 213 ราย ภาคกลาง 67 ราย และภาคใต้ 41 ราย เสียชีวิต 3 ราย" ปลัด สธ.กล่าว

นพ.ณรงค์กล่าวว่า เห็ดที่ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตนำมากิน ที่พบบ่อยที่สุดคือ เห็ดไข่หิน และเห็ดระโงกหิน อยู่ในกลุ่มเดียวกับเห็ดไข่ห่านที่นิยมกินในภาคเหนือ ชาวบ้านเรียกได้หลายชื่อ เช่น เห็ดไข่ห่าน เห็ดไข่เหลือง เห็ดโม่งโก้ง และเห็ดระโงกที่นิยมกินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเห็ดที่มีพิษ 2 ชนิด ชาวบ้านจะเรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือเห็ดสะงาก เห็ดระโงกตีนตัน เห็ดไข่ตายซาก หรือตายฮาก เห็ดไส้เดือน และเห็ดขี้ไก่เดือน

เห็ดพิษนี้ จะมีลักษณะดอก สี จะเหมือนเห็ดที่ชาวบ้านรู้จักและกินได้ แต่ในขณะที่เห็ดยังเป็นดอกอ่อน ดอกตูม ซึ่งจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่จะเหมือนกันมาก ดังนั้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการกินเห็ดระโงกที่ยังเป็นดอกอ่อน ดอกตูม หรือขณะยังเป็นก้อนกลมรีคล้ายไข่ เพราะแยกได้ยากว่าเป็นเห็ดพิษหรือไม่มีพิษ

นพ.ภาสกรกล่าวว่า วิธีการทดสอบเห็ดพิษตามแบบภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ประชาชนมักปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อแยกชนิดระหว่างเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษ เช่น การนำเห็ดไปต้มพร้อมกับข้าวสาร แล้วข้าวสารไม่ดำ หรือต้มเห็ดพร้อมกับช้อนเงิน แล้วช้อนเงินไม่เปลี่ยนสี ไม่สามารถนำมาใช้ทดสอบกับเห็ดป่ากลุ่มเห็ดระโงกหินได้ รวมทั้งการเก็บเห็ดที่เกิดในที่เดิมๆ ที่เคยเก็บมากิน หรือเห็ดที่มีรอยแมลงกัดกินก็ไม่ได้แสดงว่าปลอดภัย

ส่วนวิธีการช่วยชีวิตเบื้องต้นขอให้ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้มากที่สุด เพื่อให้พิษออกจากร่างกายมากที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35684

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 27/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,747,271
Page Views2,012,457
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view